วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

บทความ

บทความ : เด็กๆ อนุบาลสนุกกับ สะเต็มศึกษาผ่านโครงงานปฐมวัย
                 

                สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ในฐานะองค์กรหลักของชาติ ที่ได้รับมอบหมายให้จัดทำและพัฒนาหลักสูตร สื่อ นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ในทุกระดับการศึกษาให้เหมาะสมเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ หนึ่งในแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับโลกในศตวรรษนี้ ที่สสวท. กำลังผลักดันก็คือ การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา โดยเน้นการนำความรู้และกระบวนการด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศกรรมศาสตร์ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง เพื่อเป็นการปูพื้นฐานให้ผู้เรียนสามารถดำเนินชีวิตและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต 
                
 ดร.พรพรรณ ไวทยางกูร  ผู้อำนวยการ สสวท. กล่าวว่า แนวคิดในเรื่องสะเต็มศึกษานั้น เป็นกระบวนการเชิงระบบแบบวิทยาศาสตร์ ที่นำมาเชื่อมโยงในกระบวนการเรียนรู้ การสร้างสรรค์ผลงานหรือชิ้นงานจากการคิดค้น การแก้ปัญหา การคิดวิเคราะห์ ซึ่งสามารถเตรียมความพร้อมสำหรับนักเรียน โดยนำสิ่งที่เรียนรู้ในระบบโรงเรียนไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพได้
                
                          สำหรับวิธีการจัดกิจกรรมเพื่อดึงดูดใจของเด็กเพื่อให้มีความรู้สึกสนุกในการเรียนรู้และเห็นคุณค่าของการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ มีแนวคิดหลัก 5 ข้อ คือ
 1.) ครูต้องเน้นการบูรณาการ
 2.) ครูต้องช่วยให้นักเรียนมีความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาที่กำลังเรียนชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ  
3.) เน้นการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21  
4.) ท้าทายความคิดของผู้เรียน และ  
5.) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความเข้าใจและความคิดเห็นที่เกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน การบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้เข้ากับชีวิตประจำวัน"


    สำหรับครูกษมาพร  เข็มสันเทียะ จากโรงเรียนชุมชนบ้านไผ่ยิ่งยงอุทิศ จ.ขอนแก่น มานำเสนอผลงานการจัดการเรียนรู้บูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ในระดับปฐมวัย โครงงานปั้นข้าวจี่ ฝีมือหนู  เล่าถึงผลงานที่นำไปใช้กับนักเรียนอนุบาล ว่าจากที่พาเด็กๆ ได้ลงมือทำกิจกรรมจริง ทำให้เด็กๆ สนุก มีความกระตือรือร้น ให้ความสนใจ กล้าแสดงออกมากขึ้น สามารถตั้งคำถามและแก้ปัญหาได้ รวมทั้งสามารถเรียนรู้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้เป็นอย่างดี



             ทั้งนี้ งานประชุมวิชาการ สะเต็มศึกษา พัฒนาเด็กไทยและการนำเสนอผลงานวิชาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ปฐมวัย ครั้งที่ 2 เป็นการเปิดโอกาสให้ครู นักวิชาการ และบุคลากรทางการศึกษาระดับปฐมวัยและประถมศึกษาได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ รวมถึงได้เพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดกระบวนการการเรียนรู้ ตามแนวทางสะเต็มศึกษาอีกด้วย




บทความฉบับเต็ม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น