วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

no.6

                        Scienince Experiences Management for Early chaildhood


                                                           23    September    2014




ความรู้ที่ได้รับ


นำเสนอบทความ  

1.สอนเด็กปฐมวัยเรียนวิทยาศาสตร์จากเป็ดและได้ 
 เรียนโดยมีเพลงเป็นสื่อกลาง มีการสนธนาโต้ตอบ การเล่าเรื่องราวและการลงพื้นที่จริง
อ่านโดยนาวสางนภาวรรณ กรุดเงียม

2.วิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก บทความจาก ดร.เทพกัณญา 
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์นั้นไม่ควารแยกแยะควรพัฒนาเด็กในองค์รวมทั้ง4ด้าน ควรเข้าใจคำถามของเด็กๆ
อ่านโดยนางสาวสุธาสินิ 

3.วิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก  บทความจากดร.อัญชลี ไสยวรรณ
เด็กปฐมวัยอยากรู้อยากเห็นชอบตั้งคำถามว่า"ทำไม"
อ่านโดยนางสาวนฤมล อิสสระ

4.โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร
การเรียนของเด็กปฐมวัยนั้นเน้นการเรียนรู้เรื่องไกล้ตัว เรื่อง ดิน น้ำ อากาศและไฟ การเรียนรู้สื่อสาระเนื้อหาาด้วยตนเอง
อ่านโดยนางสาวยุพดี สนประเสริษฐ์

การเรียนการสอน

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามที่เด็กสนใจในเรื่องนั้นโดยมีหัวข้อที่ครอบคลุม
ชื่อ เรื่องที่เด็กๆสนใจ
- ชนิด
-ลักษณะ
-วิธีการดูแลรักษา/การดำเนินชีวิต
-ประโยชน์/แปรรูป
-ข้อควรระวัง


กิจกรรม แรงโน้มถ่วง



การโยนไปเกิดการหมุนแล้วหล่นลงมาโดยมีอากาศพยุงให้ปีกค่อยๆหล่นลงมา  เหมือนการกระโดดร่ม / เหมือนเครื่องบิน






ืืno.5

                              Scienince Experiences Management for Early chaildhood


16 september 2014


ความรู้ที่ได้รับ

นำเสนอบทความ  




1.หลักสูตรวิทยาศาสตร์สำคัญหรือไม่      
เกิดปัญหาคือครูสอนตามคำบอกเล่า จัดไม่สอดคล้องกับวิธีการรียนรู้ของเด็ฏ ครูควรจัดการเรียนวิทยาศาสตร์ในรูปแบบบูรณาการกับวิชาอื่นๆตามกรอบมาตราฐานการเรียนรู้ปฐมวัย
นางสาววีนัส ยอดแก้วผู้อ่านบทความ

2.สอนลูกเรื่องพืช  โดยอาจารย์นิติธร  ปิลวาสน์
พ่อแม่ควรส่งเสริมให้ลูกลงมือปฏิบัติ ทำอาหาร ปลูกผัก เลือกซื้อผักผลไม้ ร่วมจัดสวนครัวทำแปลงผัก


การเรียนการสอน

ความรู้คือ ตัวเนื้อหาสาระ
ทักษะคือการปฏิบัติ การกระทำ




สรุปความลับของแสง











วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

บทความ

บทความ : เด็กๆ อนุบาลสนุกกับ สะเต็มศึกษาผ่านโครงงานปฐมวัย
                 

                สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ในฐานะองค์กรหลักของชาติ ที่ได้รับมอบหมายให้จัดทำและพัฒนาหลักสูตร สื่อ นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ในทุกระดับการศึกษาให้เหมาะสมเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ หนึ่งในแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับโลกในศตวรรษนี้ ที่สสวท. กำลังผลักดันก็คือ การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา โดยเน้นการนำความรู้และกระบวนการด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศกรรมศาสตร์ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง เพื่อเป็นการปูพื้นฐานให้ผู้เรียนสามารถดำเนินชีวิตและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต 
                
 ดร.พรพรรณ ไวทยางกูร  ผู้อำนวยการ สสวท. กล่าวว่า แนวคิดในเรื่องสะเต็มศึกษานั้น เป็นกระบวนการเชิงระบบแบบวิทยาศาสตร์ ที่นำมาเชื่อมโยงในกระบวนการเรียนรู้ การสร้างสรรค์ผลงานหรือชิ้นงานจากการคิดค้น การแก้ปัญหา การคิดวิเคราะห์ ซึ่งสามารถเตรียมความพร้อมสำหรับนักเรียน โดยนำสิ่งที่เรียนรู้ในระบบโรงเรียนไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพได้
                
                          สำหรับวิธีการจัดกิจกรรมเพื่อดึงดูดใจของเด็กเพื่อให้มีความรู้สึกสนุกในการเรียนรู้และเห็นคุณค่าของการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ มีแนวคิดหลัก 5 ข้อ คือ
 1.) ครูต้องเน้นการบูรณาการ
 2.) ครูต้องช่วยให้นักเรียนมีความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาที่กำลังเรียนชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ  
3.) เน้นการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21  
4.) ท้าทายความคิดของผู้เรียน และ  
5.) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความเข้าใจและความคิดเห็นที่เกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน การบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้เข้ากับชีวิตประจำวัน"


    สำหรับครูกษมาพร  เข็มสันเทียะ จากโรงเรียนชุมชนบ้านไผ่ยิ่งยงอุทิศ จ.ขอนแก่น มานำเสนอผลงานการจัดการเรียนรู้บูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ในระดับปฐมวัย โครงงานปั้นข้าวจี่ ฝีมือหนู  เล่าถึงผลงานที่นำไปใช้กับนักเรียนอนุบาล ว่าจากที่พาเด็กๆ ได้ลงมือทำกิจกรรมจริง ทำให้เด็กๆ สนุก มีความกระตือรือร้น ให้ความสนใจ กล้าแสดงออกมากขึ้น สามารถตั้งคำถามและแก้ปัญหาได้ รวมทั้งสามารถเรียนรู้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้เป็นอย่างดี



             ทั้งนี้ งานประชุมวิชาการ สะเต็มศึกษา พัฒนาเด็กไทยและการนำเสนอผลงานวิชาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ปฐมวัย ครั้งที่ 2 เป็นการเปิดโอกาสให้ครู นักวิชาการ และบุคลากรทางการศึกษาระดับปฐมวัยและประถมศึกษาได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ รวมถึงได้เพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดกระบวนการการเรียนรู้ ตามแนวทางสะเต็มศึกษาอีกด้วย




บทความฉบับเต็ม

วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2557

วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2557